วันอังคารที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ลิควิด เปเปอร์ เกิดขึ้นได้ไง


ลิควิด เปเปอร์ (Liquid Paper)
นางเบ็ต เนสสมิธ เกรแฮม (Bette Nesmith Graham) ทำงานในหน้าที่เลขานุการเวลาเธอพิมพ์งาน เธอต้องเจอปัญหาการพิมพ์ผิด ซึ่งเธอใช้ยางลบดินสอเป็นตัวช่วยลบ ทำให้การทำงานทั้งล่าช้า และงานไม่เรียบร้อย
ต่อมามีเครื่องพิมพ์ดีดไฟฟ้าออกมาใช้ คราวนี้เธอเผชิญปัญหาหนักกว่าเก่า เพราะไม่สามารถใช้ยางลบดินสอลบคำผิดได้อีกต่อไป ต้องพิมพ์ใหม่สถานเดียว เธอจึงหาทางแก้ปัญหานี้ด้วยการประดิษฐ์น้ำยาลบคำผิดขึ้นมา
ในปี ค.ศ.1956 เธอก็ค้นพบวิธีทำน้ำยาลบหมึกแบบง่าย ๆ เพียงใช้สีน้ำสีขาวบรรจุลงในขวดน้ำยาทาเล็บ ใช้พู่ป้ายน้ำยาทาเล็บป้ายสีน้ำสีขาวลงบนกระดาษ แค่นี้คำผิดก็ลบไป พิมพ์ซ้ำทับได้แนบเนียน ใช้ง่าย รวดเร็ว และแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพบรรดาเพื่อนร่วมงานเห็นเช่นนั้น ก็ขอน้ำยาลบหมึกของเธอมาใช้กันบ้าง นี่คือจุดกำเนิดน้ำยาป้ายคำผิด "ลิควิด เปเปอร์" (liquid paper)
เมื่อมีความต้องการน้ำยาป้ายคำผิดมาก ๆ นางเกรแฮมจึงพัฒนาสีน้ำสีขาวและทำการผลิตที่บ้านออกจำหน่าย ด้วยการผสมสีขาวลงในเครื่องปั่นน้ำ กรอกใส่ขวดยาทาเล็บ เป็นอุตสาหกรรมครอบครัวยาวนานถึง 17 ปี
ปี ค.ศ. 1976 เธอสามารถผลิตลิควิด เปเปอร์ได้ถึง 25 ล้านขวด ออกจำหน่ายไปทั่วโลก และต่อมาในปี ค.ศ.1979 เธอได้ขายกิจการให้กับบริษัทยิลเล็ต (Gillette)

อันตรายจากฟองน้ำล้างจาน

นางอรุณ บ่างตระกูลนนท์ รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข และในฐานะผู้วิจัยเรื่องอันตรายจากเชื้อโรคอาหารเป็นพิษ และปริมาณจุลินทรีย์ในแผ่นใยขัดและฟองน้ำทำความสะอาดภาชนะบรรจุอาหาร เปิดเผยว่า จากการเก็บตัวอย่างแผ่นใยขัดและฟองน้ำที่ใช้ล้างทำความสะอาดภาชนะบรรจุอาหาร และอุปกรณ์ประกอบอาหาร
เพื่อมาหาปริมาณจุลินทรีย์ และเชื้อแบคทีเรียก่อโรคเป็นพิษ พบว่าแผ่นใยขัดและฟองน้ำที่เก็บจากร้านค้าจำหน่ายอาหารมีปริมาณการปนเปื้อนเชื้อ จุลินทรีย์ทั้งชนิดที่ไม่ทำให้ป่วย และชนิดที่รุนแรงที่ทำให้ป่วย

ส่วนเชื้อแบคทีเรียก่อโรคอาหารเป็นพิษในแผ่นใยและฟองน้ำจากร้านค้า โดยเชื้อโรคที่พบ ได้แก่ เชื้อซัมโมเนลล่า ซึ่งทำให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษและโรคอุจจาระร่วง เชื้ออหิวาต์เทียม ที่มีอาการท้องร่วงไม่รุนแรงเท่ากับโรคอหิวาต์

"จากงานวิจัยแสดงให้เห็นว่าแผ่นใยขัดและฟองน้ำที่พบเชื้อโรคอาหารเป็นพิษ นั้นสามารถตรวจพบได้ทั้งในจาน ชาม ช้อน พร้อมกันนี้จำนวนเชื้อจุลินทรีย์ที่พบในแผ่นใยขัดและฟองน้ำมีอัตราสูงมาก ซึ่งพอเป็นข้อมูลได้ว่า โอกาส ที่เชื้อจุลินทรีย์ในแผ่นใยขัดและฟองน้ำอาจติดไปกับภาชนะที่ใช้แผ่นใย ขัดและฟองน้ำล้างทำความสะอาดได้ และโอกาสปนเปื้อนในอาหารได้" วิธีการทำลายเชื้อจุลินทรีย์ในแผ่นใยขัดและฟองน้ำหลังผ่านการล้างทำความ สะอาดภาชนะอุปกรณ์ต่างๆ โดยพบวิธีที่ง่ายและสามารถทำได้ทุกครัวเรือน คือ การใช้กรดน้ำส้มหรือน้ำส้มสายชู 4 ช้อนโต๊ะ ผสมกับน้ำเปล่าครึ่งลิตร แล้วนำแผ่นใยขัดหรือฟองน้ำที่ผ่านการล้างภาชนะในแต่ละวันมาแช่ทิ้งไว้ค้าง คืน และเปลี่ยนน้ำส้มสายชูใหม่ทุกวัน ภาวะที่มีความเป็นกรดสูงนั้น จะช่วยให้สามารถลดปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ดังกล่าวลงให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย แก่การบริโภค หรือไม่ก็ควรนำไปตากแดดจัด อย่างน้อย 2-3 ชั่วโมง ความร้อนจากแสงแดดก็จะช่วยลดปริมาณจุลินทรีย์เช่นเดียวกัน

"ที่สำคัญไม่เพียงเท่านี้ควรทำความสะอาดแผ่นใยขัดและฟองน้ำ โดยผึ่งและทำให้แห้งหลังการใช้งานทุกครั้ง ไม่ควรแช่น้ำยาล้างจานทิ้งไว้จนกว่าจะมีการล้างครั้งใหม่ เนื่องจากไม่สามารถช่วยฆ่าเชื้อโรคได้ ยังเป็นตัวหมักหมมเชื้อโรคด้วย ทั้งนี้ ควรเปลี่ยนแผ่นใยขัดและฟองน้ำบ่อยๆ ไม่ควรเก็บไว้ใช้นานจนเกินไป"